LED (light-emitting diode) หรือที่เรามักจะเรียกว่า ไดโอดแปลงแสง การที่เราสามารถมองเห็นแสงของ LED นั้นเป็นเพราะภายในตัว LED เมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า จะปล่อยคลื่นแสงออกมา โดยความถี่ของคลื่นแสงที่ความถี่ต่างๆกัน จะทำให้เรามองเห็นเป็นสีต่างๆกันไปด้วย หลอดLEDที่เราเห็นมีขายกันตามร้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีหลายแบบ แต่ละแบบนั้นจะมีหลักการทำงานเหมือนกัน
LEDแบบหลอดกลมสีแบบต่างๆ โดยจะมีสีเคลือบมองเห็นได้ชัดเจน สีที่นิยมใช้คือ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีส้ม เป็นต้น โดยขนาดของ LED จะมีตั้งแต่ขนาด 3มิลลิเมตร, 5มิลลิเมตร,8มิลลิเมตร,10มิลลิเมตร เป็นต้น
LED แบบหลอดกลมแบบหลอดใส หรือที่เรามักจะเรียกว่า LEDแบบซุปเปอร์ไบท์ โดยที่ตัวหลอดเองจะเป็นแบบใสเราจะไม่มีทางรู้เลยว่า จะเป็นสีอะไรจนกว่าจะลองป้อนไฟเข้าไป ขนาดของ LED แบบนี้จะมีเหมือนกับ หลอดสีต่างๆ และมีสีให้เลือกเช่นสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง สีส้ม สีขาว เป็นต้น
LED แบบหลอดเหลี่ยม โดนส่วนแสดงผลจะเป็นแบบเหลี่ยมดังรูป
LED แบบตัวถังเป็นรูปสี่เหลี่ยม จะมี 4 ขา และมีสีให้เลือกใช้มากมายเช่น สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว สีส้ม สีขาว เป็นต้น
ลักษณะของตัว LED
LED จะทำจากสารกึ่งตัวนำ P และ N โดยจะมี 2 ขาในการใช้งาน (ยกเว้นบางประเภท เช่น LED แบบให้สีสองสีในหลอดเดียวกันอาจจะมี 3 ขาได้) โดยขาของ LED จะมีชื่อเรียกดังนี้
ขา A หรือที่เรามักเรียกว่าขา อาโนท โดยขานี้จะต้องป้อนไฟบวก (+) ให้เท่านั้น
ขา K หรือที่เรามักเรียกว่า ขา แคโทด โดยขานี้จะต้องป้อนไฟลบ(-) ให้เท่านั้น
ที่ตัว LED แบบหลอดจะสังเกตว่าจะมีรอยบากอยู่ด้านหนึ่ง โดยทั่วไปตำแหน่งรอยบากนี้จะแสดงตำแหน่งขา K แต่ มันก็ไม่จำเป็นเสมอไปครับทางที่ดีเราควรตรวจสอบด้วยตัวเองจะดีกว่า ซึ่งจะอยู่ในหัวข้อด้างล่างๆครับ
แรงดันที่เราจะใช้ให้LEDเปล่งแสงได้จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 ? 3โวลต์ โดยอาจะขึ้นอยู่กับสีและคุณสมบัติเฉพาะตัวนั้นๆ โดยทั่วไปจะใช้ที่ 2.5 - 3 โวลต์ และ LED จะมีกระแสไหลผ่าน(กระแสไบอัสตรง)ได้ประมาณ 20 mA(มิลิแอมป์)
วงจรการทำงานของ LED
เราสามารถต่อการใช้งาน LED ได้ดังรูป โดยทั้งนี้เราจะต้องมีการคำนวณการต่อค่าตัวต้านทานไปด้วยนะครับ หากเราเลือกใช้ค่าความต้านทานผิด อาจจะทำให้ LED เสียหายหรือขาดได้
ตัวอย่างการคำนวณพื้นฐาน ในที่นี้เราจะให้ LED มีแรงดันตกคร่อม 2V และ มีกระแสไหลผ่านตัวมันได้ 20 mA การคำนวณค่าตัวต้านทานที่มาต่อกับ จะได้ว่า ค่าความต้านทาน = (แรงดันแหล่งจ่าย ? แรงดันตกคร่อมLED) / 0.002 (0.002 คือ 20mA)
ตัวอย่าง
เมื่อแหล่งจ่าย 5 V จะได้ว่า R = (5 ? 2) / 0.02 = 150 คือใช้ ตัวต้านทาน 150 โอห์ม
เมื่อแหล่งจ่าย 9 V จะได้ว่า R = (9 ? 2) / 0.02 = 350 คือใช้ ตัวต้านทาน 350 โอห์ม
เมื่อแหล่งจ่าย 12 V จะได้ว่า R = (12 ? 2) / 0.02 = 500 คือใช้ ตัวต้านทาน 500 โอห์ม
ในกรณีที่เราต่อ LED หลายตัวแบบอนุกรม เราก็สามารถเปลี่ยนแรงดันตกคร่อม เช่น
ถ้าเราต่อกัน 2 ตัว เราก็เปลี่ยนแรงดันตกคร่อมเป็น 4V
ถ้าเราต่อกัน 3 ตัว เราก็เปลี่ยนแรงดันตกคร่อมเป็น 6V
ตัวอย่างเมื่อต่อกัน 2 ตัวอนุกรม
เมื่อแหล่งจ่าย 5 V จะได้ว่า R = (5 ? 4) / 0.02 = 50 คือใช้ ตัวต้านทาน 50 โอห์ม
เมื่อแหล่งจ่าย 9 V จะได้ว่า R = (9 ? 4) / 0.02 = 250 คือใช้ ตัวต้านทาน 250 โอห์ม
เมื่อแหล่งจ่าย 12 V จะได้ว่า R = (12 ? 4) / 0.02 = 400 คือใช้ ตัวต้านทาน 500 โอห์ม
** การเลือกใช้ ตัวต้านทานนั้นจะจะใช้มากกว่านี้ก็ได้ครับซึ่งจะเป็นผลดีกว่าเพราะ LED จะไม่เสียไวแต่ความสว่างจะน้อยลงไปด้วยเท่านั้นเอง ** ในกรณีถ้าเป็นหลอดซุปเปอร์ไบท์ แรงดันตกคร่อมจะสูงกว่าแบบธรรมดา คือจะอยู่ในช่วง 2.5 ? 3V
การตรวจสอบ LED การตรวจสอบนั้นสามารถทำได้หลายวิธี
การใช้แบตเตอรี่ก้อนกลม
ตรวจสอบ โดยวิธีนี้จะเป็นการดูว่า LED นั้นเป็นสีอะไรในกรณีที่ LED นั้นเป็นแบบซุปเปอร์ไบท์ และยังสามารถตรวจสอบตำแหล่งขา A K ได้อีกด้วย
แบตเตอรี่แบบจะมีด้าน บวก และ ลบดังรูป การตรวจสอบใช้แค่ 1 ก้อนก็เพียงพอแล้ว ให้เอาLED มาต่อตามรูปโดยสลับขา 2 ครั้งผลที่ได้คือ
จะติด 1 ครั้งและ ดับ 1 ครั้ง แสดงว่า LED ปกติ และ ดูที่ตอนที่ LED ติดไปขาที่ต่อขั้วบวก(+) จะเป็นขั้ว A และขาที่ต่อขั้วลบ(-) จะเป็นขั้ว K
ถ้าไม่ติดทั้ง 2 ครั้งแสดง LED นั้นเสีย ซึ่งอาจจะขาดได้
การตรวจสอบโดยใช้มัตติมิเตอร์ โดยเราจะต้องใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มเท่านั้นโดยการLED ทดสอบทำได้โดย
จากรูป เราปรับมัลติมิเตอร์มาที่ย่านวัดตัวต้านทานที่ X1 จากนั้นให้ทำการวัดที่ขาของ LED ดังรูปโดยสลับสายวัด จะเห็นว่า LED จะติด 1 ครั้งและดับ 1 ครั้งแสดงว่า LED ปกติ และผลการวัดคือ เมื่อ LED สว่าง ขาที่วัดกับสายสีดำ(ขั้วลบ) จะเป็นขา A ส่วนขาที่เหลือจะเป็นขา K ถ้าวัดแล้วเข็มไม่ขึ้น หรือ ขึ้นค้างทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่า LED นั้นเสียหาย
วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553
รีเลย์อิเล็กทรอนิกส์ Relay
รีเลย์อิเล็กทรอนิกส์ Relay
เลย์อิเล็กทรอนิกส์ Relay รีเลย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชิงกล ชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าเป็นสวิตช์ แต่รีเลย์นั้นจะถูกควบคุมด้วย กระแสไฟฟ้าครับ
การทำงานของรีเลย์ คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด จะทำให้ขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กไปดึง แผ่นหน้าสัมผัสให้ดึงลงมา แตะหน้าสัมผัสอีกอันทำให้มีกระแสไหลผ่านหน้าสัมผัสไปได้
ขาของรีเลย์จะประกอบไปด้วยตแหน่งต่างๆดังนี้คือ
ขาจ่ายแรงดันใช้งาน ซึ่งจะมีอยู่ 2 ขา จากรูปจะเห็นสัญลักษณ์ขดลวดแสดงตำแหน่งขา coil หรือ ขาต่อแรงดันใช้งาน
ขา C หรือ COM หรือ ขาคอมมอน จะเป็นขาต่อระหว่าง NO และ NC
ขา NO (Normally opened หรือ ปกติเปิด) โดยปกติขานี้จะเปิดเอาไว้ จะทำงานเมื่อเราป้อนแรงดันให้รีเลย์
ขา NC (Normally closed หรือ ปกติปิด) โดยปกติขานี้จะต่อกับขา C ในกรณีที่เราไม่ได้จ่ายแรงดัน หน้าสัมผัาของ C และ NC จะต่อถึงกัน
ข้อคำถึงในการใช้งานรีเลย์ทั่วไป
1. แรงดันใช้งาน หรือแรงดันที่ทำให้รีเลย์ทำงานได้ หากเราดูที่ตัวรีเลย์จะระบุค่า แรงดันใช้งานไว้ (หากใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนมากจะใช้แรงดันกระแสตรงในการใช้งาน) เช่น 12VDC คือต้องใช้แรงดันที่ 12 VDC เท่านั้นหากใช้มากกว่านี้ ขดลวดภายใน ตัวรีเลย์อาจจขาดได้ หรือหากใช้แรงดันต่ำกว่ามาก รีเลย์จะไม่ทำงาน ส่วนในการต่อวงจรนั้นสามารถต่อขั้วใดก็ได้ครับ เพราะตัวรีเลย์ จะไม่ระบุขั้วต่อไว้ (นอกจากชนิดพิเศษ)
2. การใช้งานกระแสผ่านหน้าสัมผัส ซึ่งที่ตัวรีเลย์จะระบุไว้ เช่น 10A 220AC คือ หน้าสัมผัสของรีเลย์นั้นสามาถทนกระแสได้ 10 แอมแปร์ที่ 220VAC ครับ แต่การใช้ก็ควรจะใช้งานที่ระดับกระแสต่ำกว่านี้จะเป็นการดีกว่าครับ เพราะถ้ากระแสมากหน้าสัมผัส ของรีเลย์จะละลายเสียหายได้
3. จำนานหน้าสัมผัสการใช้งาน ควรดูว่ารีเลย์นั้นมีหน้าสัมผัสให้ใช้งานกี่อัน และมีขั้วคอมมอนด้วยหรือเปล่า
จำนวนหน้าสัมผัสของรีเลย์
ปกติแล้วรีเลย์จะมีหน้าสัมผัสและการเรียกจำนวนหน้าสัมผัสดังนี้ครับ
เลย์อิเล็กทรอนิกส์ Relay รีเลย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชิงกล ชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าเป็นสวิตช์ แต่รีเลย์นั้นจะถูกควบคุมด้วย กระแสไฟฟ้าครับ
การทำงานของรีเลย์ คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด จะทำให้ขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กไปดึง แผ่นหน้าสัมผัสให้ดึงลงมา แตะหน้าสัมผัสอีกอันทำให้มีกระแสไหลผ่านหน้าสัมผัสไปได้
ขาของรีเลย์จะประกอบไปด้วยตแหน่งต่างๆดังนี้คือ
ขาจ่ายแรงดันใช้งาน ซึ่งจะมีอยู่ 2 ขา จากรูปจะเห็นสัญลักษณ์ขดลวดแสดงตำแหน่งขา coil หรือ ขาต่อแรงดันใช้งาน
ขา C หรือ COM หรือ ขาคอมมอน จะเป็นขาต่อระหว่าง NO และ NC
ขา NO (Normally opened หรือ ปกติเปิด) โดยปกติขานี้จะเปิดเอาไว้ จะทำงานเมื่อเราป้อนแรงดันให้รีเลย์
ขา NC (Normally closed หรือ ปกติปิด) โดยปกติขานี้จะต่อกับขา C ในกรณีที่เราไม่ได้จ่ายแรงดัน หน้าสัมผัาของ C และ NC จะต่อถึงกัน
ข้อคำถึงในการใช้งานรีเลย์ทั่วไป
1. แรงดันใช้งาน หรือแรงดันที่ทำให้รีเลย์ทำงานได้ หากเราดูที่ตัวรีเลย์จะระบุค่า แรงดันใช้งานไว้ (หากใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนมากจะใช้แรงดันกระแสตรงในการใช้งาน) เช่น 12VDC คือต้องใช้แรงดันที่ 12 VDC เท่านั้นหากใช้มากกว่านี้ ขดลวดภายใน ตัวรีเลย์อาจจขาดได้ หรือหากใช้แรงดันต่ำกว่ามาก รีเลย์จะไม่ทำงาน ส่วนในการต่อวงจรนั้นสามารถต่อขั้วใดก็ได้ครับ เพราะตัวรีเลย์ จะไม่ระบุขั้วต่อไว้ (นอกจากชนิดพิเศษ)
2. การใช้งานกระแสผ่านหน้าสัมผัส ซึ่งที่ตัวรีเลย์จะระบุไว้ เช่น 10A 220AC คือ หน้าสัมผัสของรีเลย์นั้นสามาถทนกระแสได้ 10 แอมแปร์ที่ 220VAC ครับ แต่การใช้ก็ควรจะใช้งานที่ระดับกระแสต่ำกว่านี้จะเป็นการดีกว่าครับ เพราะถ้ากระแสมากหน้าสัมผัส ของรีเลย์จะละลายเสียหายได้
3. จำนานหน้าสัมผัสการใช้งาน ควรดูว่ารีเลย์นั้นมีหน้าสัมผัสให้ใช้งานกี่อัน และมีขั้วคอมมอนด้วยหรือเปล่า
จำนวนหน้าสัมผัสของรีเลย์
ปกติแล้วรีเลย์จะมีหน้าสัมผัสและการเรียกจำนวนหน้าสัมผัสดังนี้ครับ
ทรานซิสเตอร์
รู้จักกับทรานซิสเตอร์
ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ) ชนิดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทรานซิสเตอร์แบ่งได้ 2 ประเภทคือ ไบโพล่าทรานซิสเตอร์ (ทรานซิสเตอร์ที่เราพูดถึงอยู่) และ ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า คือพวก FET MOSFET เป็นต้น แต่เมื่อเราพูดถึงทรานซิสเตอร์ เราจะมักหมายถึง ไบโพล่าทรานซิสเตอร์นั้นเอง
รูปร่างของทรานซิสเตอร์มีหลายรูปแบบ เรามักจะเรียกว่าตัวถัง ซึ่งแต่ละแบบก็มีชื่อเรียกต่างกันออกไป(จะเขียนบทความเกี่ยวกับตัวถังอุปกรณ์ในหัวข้อต่อไป) และถ้าทรานซิสเตอร์มีขนาดใหญ่ แสดงว่าทรานซิสเตอร์นั้นสามารถนำกระแส หรือมีกำลังมากนั้นเอง
โครงสร้างภายในของทรานซิสเตอร์นั้นจะประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ P และ N มาต่อกัน 3 ตัว และมีรอยต่อ 2 รอยต่อมีขา 3 ขา ยื้นมาจากสารกึ่งตัวนำนั้นๆ โดยเราจะเรียนชนิดทรานซิสเตอร์ตามโครงสร้างนั้นๆ พื้นฐานในการทำงานของทรานซิสเตอรคือ ทรานซิสเตอร์จะทำงานได้ ต่อเมื่อมีกระแสไหลเข้ามาที่ขา B เท่านั้นหากไม่มีกระแสไหลเข้ามาทรานซิสเตอร์จะไม่ทำงาน
โครงสร้างของทรานซิสเตอร์
โดยทั่วไปแล้วทรานซิสเตอร์จะมีโครงสร้าง 2 แบบ คือ แบบ NPN และ PNP การที่เรียกชื่อแบบนี้เพราะโครงสร้างภายในของทรานซิสเตอร์ถูกผลิต ขึ้นแบบนี้ ดังนั้นในการเลือกใช้งานทรานซิสเตอร์ต้องเลือกใช้งานให้ถูกต้องด้วยขาของทรานซิสเตอร์มี 3 ขา และมีชื่อเรียกคือ ขาเบส(B) ขาคอนเลเตอร์ (C) และ ขาอีมิเตอร์ (E) ในการตรวจสอบตำแหน่ง ขาและดูว่าเป็นทรานซิสเตอร์แบบใดจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไปครับ
โครงสร้างแบบ NPN สังเกตว่าสัญลักษณ์ทรานซิสเตอร์หัวลูกศรจะพุ่งออก
โครงสร้างแบบ PNP สังเกตว่าสัญลักษณ์ทรานซิสเตอร์หัวลูกศรจะพุ่งเข้า
การใช้งานทรานซิสเตอร์
ทรานซิสเตอร์นั้นมักจะนำมาใช้งานเกี่ยวข้องกับวงจรที่มีความแตกต่างกันออกไปคือ
1. การใช้งานทำหน้าที่ในการขยายสัญญาณ สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก สามารถขยายให้ใหญ่ขึ้นได้โดยใช้ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณให้ใหญ่ขึ้น เช่น เครื่องขยายเสียง เครื่องส่งวิทยุ เป็นต้น
2. การใช้งานเป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ เราใช้ทรานซิสเตอร์ทำงานแทนสวิตช์ได้ เพราะทรานซิสเตอร์จะถูกควบคุมด้วยกระแส ไฟฟ้าจำนวนน้อยมาก และการใช้งานแทนสวิตช์นี้จะไม่ทำให้เกิดเสียงดังเวลา เปิด/ปิด สวิตช์
ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ) ชนิดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทรานซิสเตอร์แบ่งได้ 2 ประเภทคือ ไบโพล่าทรานซิสเตอร์ (ทรานซิสเตอร์ที่เราพูดถึงอยู่) และ ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า คือพวก FET MOSFET เป็นต้น แต่เมื่อเราพูดถึงทรานซิสเตอร์ เราจะมักหมายถึง ไบโพล่าทรานซิสเตอร์นั้นเอง
รูปร่างของทรานซิสเตอร์มีหลายรูปแบบ เรามักจะเรียกว่าตัวถัง ซึ่งแต่ละแบบก็มีชื่อเรียกต่างกันออกไป(จะเขียนบทความเกี่ยวกับตัวถังอุปกรณ์ในหัวข้อต่อไป) และถ้าทรานซิสเตอร์มีขนาดใหญ่ แสดงว่าทรานซิสเตอร์นั้นสามารถนำกระแส หรือมีกำลังมากนั้นเอง
โครงสร้างภายในของทรานซิสเตอร์นั้นจะประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ P และ N มาต่อกัน 3 ตัว และมีรอยต่อ 2 รอยต่อมีขา 3 ขา ยื้นมาจากสารกึ่งตัวนำนั้นๆ โดยเราจะเรียนชนิดทรานซิสเตอร์ตามโครงสร้างนั้นๆ พื้นฐานในการทำงานของทรานซิสเตอรคือ ทรานซิสเตอร์จะทำงานได้ ต่อเมื่อมีกระแสไหลเข้ามาที่ขา B เท่านั้นหากไม่มีกระแสไหลเข้ามาทรานซิสเตอร์จะไม่ทำงาน
โครงสร้างของทรานซิสเตอร์
โดยทั่วไปแล้วทรานซิสเตอร์จะมีโครงสร้าง 2 แบบ คือ แบบ NPN และ PNP การที่เรียกชื่อแบบนี้เพราะโครงสร้างภายในของทรานซิสเตอร์ถูกผลิต ขึ้นแบบนี้ ดังนั้นในการเลือกใช้งานทรานซิสเตอร์ต้องเลือกใช้งานให้ถูกต้องด้วยขาของทรานซิสเตอร์มี 3 ขา และมีชื่อเรียกคือ ขาเบส(B) ขาคอนเลเตอร์ (C) และ ขาอีมิเตอร์ (E) ในการตรวจสอบตำแหน่ง ขาและดูว่าเป็นทรานซิสเตอร์แบบใดจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไปครับ
โครงสร้างแบบ NPN สังเกตว่าสัญลักษณ์ทรานซิสเตอร์หัวลูกศรจะพุ่งออก
โครงสร้างแบบ PNP สังเกตว่าสัญลักษณ์ทรานซิสเตอร์หัวลูกศรจะพุ่งเข้า
การใช้งานทรานซิสเตอร์
ทรานซิสเตอร์นั้นมักจะนำมาใช้งานเกี่ยวข้องกับวงจรที่มีความแตกต่างกันออกไปคือ
1. การใช้งานทำหน้าที่ในการขยายสัญญาณ สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก สามารถขยายให้ใหญ่ขึ้นได้โดยใช้ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณให้ใหญ่ขึ้น เช่น เครื่องขยายเสียง เครื่องส่งวิทยุ เป็นต้น
2. การใช้งานเป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ เราใช้ทรานซิสเตอร์ทำงานแทนสวิตช์ได้ เพราะทรานซิสเตอร์จะถูกควบคุมด้วยกระแส ไฟฟ้าจำนวนน้อยมาก และการใช้งานแทนสวิตช์นี้จะไม่ทำให้เกิดเสียงดังเวลา เปิด/ปิด สวิตช์
วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553
เรื่องประทับใจ
เมื่อสมัยผมทำงานอยู่ที่จ.ชัยภูมิเกี่ยวกับการสำรวจผังเมืองและได้มีโอกาสไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติป่าหินงามและประทับใจกับรอยต่อระหว่างสองแผ่นดินคือ อีสานกับกลางหรือจุดสิ้นสดแผ่นดินอิสาน-กลาง
<< ทุ่งดอกกระเจียว >>
"ทุ่งดอกกระเจียว" เกิดจากดอกกระเจียวป่า หลากหลายสายพันธุ์ ที่พร้อมใจกันขึ้นรายรอบบริเวณ ของอุทยานฯและจะมีอยู่บริเวณหนึ่งใช้พื้นที่หลายไร่ ที่จะมีดอกกระเจียวขึ้นอย่างหนาแน่นจนกลายเป็นทุ่ง ซึ่ง เวลามองดูก็จะเห็นเป็นสีชมพูปนขาว และมีสีเขียวของลำต้ันและก้านใบเป็นสีเขียวสด ประกอบกับสีเขียว ของหญ้าทีขึ้นมาแซม ทำให้ทุ่งกระเจียว เขียวขจี สวยงามเหมือนกับทุ่งในทรวงสวรรค์เลย โดยในช่วงฤดูฝน เริ่มต้นเดือนมิถุนายน ถึง ปลายเดือนกรกฎาคม ของทุก ๆ ปี ต้นกระเจียวจะออก ดอกสวยงามตระการตาไปทั่วผืนป่า จัดได้ว่าเป็น "นางเอกของอุทยานฯ" ก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะดอกกระเจียว จะไม่มีให้เห็นเลยนอกเสียจากในช่วงเวลาที่ว่า
<< จุดชมวิวสุดแผ่นดิน >>
"สุดแผ่นดิน" อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยานฯ เป็นแนวหน้าผาและชะง่อนหิน เป็นจุดสูงสุดบนเทือกเขา พังเหย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 846 เมตร เกิดจากการดันตัวของแผ่นดินภาคกลาง (ฉานไทย) ซุกเข้าไปใต้แผ่นดิน อีสาน (อินโต - ไซน่า) ทำให้เกิดแผ่นดินที่ยกตัวสูงชัน เรียกว่า "สุดแผ่นดิน" คือเขตรอยต่อของ 3 ภาคอันได้แก่
1. แผ่นดินซีกทางอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ชัยภูมิ (ภาคอีสาน)
2. แผ่นดินซีกทางตะวันตกของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ลพบุรี (ภาคกลาง)
3. แผ่นดินซีกทางเหนือของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.เพชรบูรณ์ (ภาคเหนือ)ซึ่งมีความสวยงาม อากาศเย็นสบาย และในตอนเช้า ๆ จะมีกลุ่มหมอกลอยผ่านหน้าเราไป เหมือนกับหยอกเย้ากับผู้มาเยือนเลย
<< ป่าหินงาม >>
"ป่าหินงาม" หรือ (ลานหินงาม) อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ทำการอุทยานฯ ทั่วบริวเวณเรียงรายไปด้วยหินก้อนน้อย ใหญ่ รูปร่างแปลก ๆ มากมายในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เป็นลานหินซึ่งเกิดจากการกัดเซาะดิน และเนื้อหินทรายมานานนับลานปี วาง เรียงรายสลับซับซ้อน อยู่เต็มลานบ้างก็มีรูปรา่างเหมือนกับถ้วยฟุตบอลโลก บ้างก็เหมือนกบเรด้า และรูปต่าง ๆ แล้วแต่จะ จินตนาการ แต่เมื่อดูแล้วชวนให้เกิดความเพลิดเพลินใจเป็นยิ่งนัก...
<< ทุ่งดอกกระเจียว >>
"ทุ่งดอกกระเจียว" เกิดจากดอกกระเจียวป่า หลากหลายสายพันธุ์ ที่พร้อมใจกันขึ้นรายรอบบริเวณ ของอุทยานฯและจะมีอยู่บริเวณหนึ่งใช้พื้นที่หลายไร่ ที่จะมีดอกกระเจียวขึ้นอย่างหนาแน่นจนกลายเป็นทุ่ง ซึ่ง เวลามองดูก็จะเห็นเป็นสีชมพูปนขาว และมีสีเขียวของลำต้ันและก้านใบเป็นสีเขียวสด ประกอบกับสีเขียว ของหญ้าทีขึ้นมาแซม ทำให้ทุ่งกระเจียว เขียวขจี สวยงามเหมือนกับทุ่งในทรวงสวรรค์เลย โดยในช่วงฤดูฝน เริ่มต้นเดือนมิถุนายน ถึง ปลายเดือนกรกฎาคม ของทุก ๆ ปี ต้นกระเจียวจะออก ดอกสวยงามตระการตาไปทั่วผืนป่า จัดได้ว่าเป็น "นางเอกของอุทยานฯ" ก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะดอกกระเจียว จะไม่มีให้เห็นเลยนอกเสียจากในช่วงเวลาที่ว่า
<< จุดชมวิวสุดแผ่นดิน >>
"สุดแผ่นดิน" อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยานฯ เป็นแนวหน้าผาและชะง่อนหิน เป็นจุดสูงสุดบนเทือกเขา พังเหย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 846 เมตร เกิดจากการดันตัวของแผ่นดินภาคกลาง (ฉานไทย) ซุกเข้าไปใต้แผ่นดิน อีสาน (อินโต - ไซน่า) ทำให้เกิดแผ่นดินที่ยกตัวสูงชัน เรียกว่า "สุดแผ่นดิน" คือเขตรอยต่อของ 3 ภาคอันได้แก่
1. แผ่นดินซีกทางอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ชัยภูมิ (ภาคอีสาน)
2. แผ่นดินซีกทางตะวันตกของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ลพบุรี (ภาคกลาง)
3. แผ่นดินซีกทางเหนือของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.เพชรบูรณ์ (ภาคเหนือ)ซึ่งมีความสวยงาม อากาศเย็นสบาย และในตอนเช้า ๆ จะมีกลุ่มหมอกลอยผ่านหน้าเราไป เหมือนกับหยอกเย้ากับผู้มาเยือนเลย
<< ป่าหินงาม >>
"ป่าหินงาม" หรือ (ลานหินงาม) อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ทำการอุทยานฯ ทั่วบริวเวณเรียงรายไปด้วยหินก้อนน้อย ใหญ่ รูปร่างแปลก ๆ มากมายในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เป็นลานหินซึ่งเกิดจากการกัดเซาะดิน และเนื้อหินทรายมานานนับลานปี วาง เรียงรายสลับซับซ้อน อยู่เต็มลานบ้างก็มีรูปรา่างเหมือนกับถ้วยฟุตบอลโลก บ้างก็เหมือนกบเรด้า และรูปต่าง ๆ แล้วแต่จะ จินตนาการ แต่เมื่อดูแล้วชวนให้เกิดความเพลิดเพลินใจเป็นยิ่งนัก...
โบราณสถาน
ปราสาทอำเภอจอมพระ
จากการศึกษาทางโบราณคดีในเขตจังหวัดสุรินทร์ พบหลักฐานการอยู่ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะตอนปลาย ซึ่งมีการใช้เครื่องมือเหล็กแล้ว มีอายุราว 2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะทางตอนเหนือของจังหวัดแถบอำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี โดยอาศัยกลุ่มทุ่งกุลาร้องไห้ และแหล่งโบราณคดีในลุ่มแม่น้ำชี โดยเฉพาะหลักฐาน ที่แสดงถึงประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 คือการนำกระดูกของผู้ตายมาใส่ภาชนะดินเผาแล้วนำไปฝังอีกครั้ง สันนิษฐานว่าประเพณีความเชื่อนี้เกิดจากการฝังศพ แบบนอนหงายเหยียดยาวก่อนแล้วจึงพัฒนาเป็นนำกระดูกใส่ภาชนะต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงมีพิธีการเผาศพขึ้น กลุ่มชนในสมัยนี้มีเทคโนโลยีค่อนข้างสูงการใช้เครื่องมือเหล็ก ทำให้การใช้ประโยชน์จากพื้นที่อยู่อาศัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การขุดคูน้ำคันดินจัดระบบชลประทาน ซึ่งยังปรากฏให้เห็นในชุมชนโบราณกว่า 59 แห่ง โดยชุมชนมักจะตั้งอยู่บนเนินดินขนาดใหญ่ ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ชุมชนโบราณบ้านสลักได อำเภอเมือง ชุมชนโบราณบ้านพระปืด กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ ชุมชนโบราณบ้านปราสาททนง อำเภอปราสาท แหล่งโบราณคดีบ้านโนนสวรรค์ อำเภอชุมพลบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ บางแห่งยังปรากฎร่องรอยการเข้ามาอยู่อาศัยของชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลาต่อมาด้วย
ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้รับการติดต่อกับผู้คนในที่ต่าง ๆ และเมื่อรับวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาผสมผสานเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หรือราว 2,000 ปีมาแล้ว ก่อให้เกิดวัฒนธรรมในยุคประวัติศาสตร์ตอนต้อน บริเวณภาคกลางของประเทศไทย คือ วัฒนธรรมทวารดีที่นับถือศาสนาพุทธขึ้น และในระยะมาแพร่กระจายเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 พร้อม ๆ กับวัฒนธรรมขอมโบราณแห่งรัฐเจนละ ชุมชนวัฒนธรรมทวารวดีในจังหวัดสุรินทร์พบน้อยมากเนื่องจากบริเวณนี้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลวัฒนธรรมขอมอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่า เท่าที่มีหลักฐานปรากฏ ได้แก่ ชุมชนโบราณบ้านตรึม อำเภอศรีขรภูมิ โนนสิมมาใหญ่ โนนสิมมาน้อย และบ้านไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี โดยพบใบเสมาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าใบเสมานี้ใช้ปักเพื่อแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ในทางศาสนา หรือสร้างขึ้นเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ควรเคารพ และถวายเป็นศาสนบูชา
ในขณะเดียวกัน จากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกับพื้นที่ที่เคยเป็นอาณาจักรขอมโบราณ ทำให้ชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ได้รับวัฒนธรรมขอมมาโดยตลอดตั้งแต่ในช่วงพุทธศตวรรษที่12 เป็นต้นมา โดยในช่วงแรก ได้พบหลักฐานเป็นแบบพนมดา (ราว พ.ศ.1100- 1150) ที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก และจารึกวัดจุมพล พบที่วัดจุมพลสุทธาวาส อำเภอเมืองสุรินทร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ราวพุทธศตวรรษที่ 13- 14 อาณาจักรขอม แยกเป็น 2 ส่วน คือ เจนละบก และเจนละน้ำ สำหรับเขตจังหวัดสุรินทร์ ดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเจนละบก ปรากฎชุมชนวัฒนธรรมขอมที่เก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จัดเป็นชุมชนระดับเมืองที่มีศาสนาสถานสำคัญ คือ ปราสาทภูมิโปน เป็นศูนย์กลาง ปราสาทดังกล่าวร่วมสมัยกับศิลปะขอมแบบไพรกเม็ง (ราว พ.ศ.1180 -1250)
อาณาจักรขอมรวมกันอีกครั้งในราวพุทธศตวรรษที่ 15 โดยมีศูนย์กลางที่เมืองพระนครหลักฐานวัฒนธรรมขอมในช่วงเวลานี้ ได้แก่ ปราสาทหมื่นชัย และปราสาทบ้านจารย์ อำเภอสังขะ ซึ่งร่วมสมัยกับศิลปะขอมแบบเกาะแกร์ (ราว พ.ศ.1465 - 1490) และพบจารึกในรัชกาลพระเจ้าราเชนทรวรมัน (ราว พ.ศ. 1487 - 1511) 1 หลัก ภายในบริเวณตัวเมืองสุรินทร์ หลักฐานการเป็นชุมชนในวัฒนธรรมขอมเพิ่มเติมจำนวนมากขึ้น ในราวกลางเช่น ปราสาทบ้านพลวง ปราสาทนางบัวตูม ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทศรีขรภูมิ และน่าจะรวมถึงเมืองสุรินทร์โบราณชั้นนอกด้วย ในต้นพุทธศตวรรษที่ 18 กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอมคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลักธิมหายาน มีหลักฐานที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกว่า พระองค์โปรดให้สร้างที่พักคนเดินทาง(จารึกปราสาทพระขรรค์) และสร้างงอโรคยศาล หรือสถานพยาบาลขึ้นในชุมชนต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก (จารึกปราสาทตาพรหม) ในจังหวัดสุรินทร์ได้พบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ดังกล่าวหลายแห่ง เช่น ปราสาทจอมพระ ปราสาทช่างปี และปราสาทตาเมืองโต๊จเป็นต้น
หลักจากที่อาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงไม่ปรากฏหลักฐานเด่นชัดที่แสดงถึงการ อยู่อาศัยของชุมชนในสมัยต่อมา จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงปรากฏร่องรอยขึ้นอีกครั้งหนึ่งในพงศาวดารอีสาร ซึ่งกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2303 หัวหน้าชาวกูยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ได้ช่วยขุนนางจากราชสำนักคลองช้างเผือกแตกโรง มาจากกรุงศรีอยุธยากลับไปได้ ต่อมาภายหลังยังได้ส่งส่วยของป่าและรับราชการกับราชสำนัก จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระ และยกบ้านที่ปกครองขึ้นเป็นเมือง คือ เมืองขุขันธ์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองสุรินทร์ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง
ในสมัยการปาครองแบบเทศาภิบาล เมืองสุรินทร์อยู่ในเขตการปกครองของหัวเมืองลาวตะวันออกต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลลาวกาวและมณฑลอีสานตามลำดับ มีการส่งข้าหลวง มากำกับราชการจากส่วนกลาง เปลี่ยนตำแหน่งเจ้าเมืองมาเป็นผู้ว่าราชการเมือง จน พ.ศ. 2451 หลวงประเสริฐสุรินทบาล (เจ้าเมืองคนที่ 10 ) ถึงแก่อนิจกรรมเป็นสิ้นสุดการปกครองเมืองสุรินทร์ของเชื้อสายพระยาสุรินทร์ (ปุม) โดยส่วนกลางส่งข้าหลวงมาปกครองแทน และเมืองเปลี่ยนจากเมืองมาเป็นจังหวัด ได้ยุบเมืองต่าง ๆ ที่อยู่เขตจังหวัดสุรินทร์เป็นอำเภอดังเช่นปัจจุบัน
สินค้าชุมชน
การทำเครื่องเงินเขวาสินรินทร์
ลวดลายเครื่องเงินโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของลุงป่วน มีทั้งหมด 13 ลาย คือ กจร ไข่แมงดา มะลิ ดอกปลึด 3 ชั้น ตังโอ ระเวยิ่ง รำหอก ทานตะวัน รวงผึ้ง รำหอกโปรง เอกปลึด รังแตน และตังโอ 3 ชั้น ซึ่งลายที่ทำยากที่สุด คือ ลายรำหอก เนื่องจากเป็นลายที่มีความสลับซับซ้อนในการทำและมีราคาแพงมาก "ลุงเคยทำทั้ง 13 ลายนี้ถวายให้กาญจนาภิเษก วิทยาลัยช่างทองหลวง เมื่อปี 2544 เนื่องในโอกาสที่ลูกศิษย์ของเขามาเรียนกับลุง เพื่อเอาไว้ให้ลูกศิษย์ได้ศึกษา แล้วเขาก็อนุญาตให้ลุงทำลายทั้ง 13 ลายนี้เอาไว้ 1 ชุด แต่ห้ามขาย น้ำหนักแต่ละดอกประมาณ 200 กรัม นอกเหนือจาก 13 ลายนี้แล้ว ลุงจะคิดและออกแบบเองทั้งหมด แต่จะไม่มีการเขียนแบบเก็บเอาไว้ ถ้าขายแล้วก็จะไม่ทำอีก เพราะทำยาก หมู่บ้านนี้เขาจะสอนทำกันแต่ประเกือม (ประคำ) ไม่ค่อยมีคนทำเครื่องเงินลายโบราณแบบลุงหรอก เครื่องเงินลายโบราณเหล่านี้อาจจะหายไปในอนาคตก็ได้" ลุงป่วน กล่าวย้ำ เห็นได้ชัดว่าศิลปะของไทยโบราณ กำลังจะหดหายไปทุกที กระบอกเสียงของชาวบ้านกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้ คงจะดังไม่พอ หากคนไทยด้วยกันไม่ยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือ อีกหน่อยศิลปะเหล่านี้คงไม่มีให้เราเห็นอีกต่อไป
การทอผ้าไหมบ้านท่าสวาง
การทอผ้าของชาวบ้าน ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานจากการทำเกษตรกรรมได้ เราจึงไม่ได้มุ่งเน้นไปที่งานอุตสาหกรรมสักเท่าไร งานของเราจะเน้นการใช้ฝีมือ จึงผลิตออกมาน้อยและมีจำนวนจำกัด แล้วสีที่นำมาย้อมผ้าเราจะเน้นสีย้อมที่เป็นธรรมชาติ กี่ทอผ้าแบบดั้งเดิม เพื่อเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน" อ.วีรธรรม กล่าว
หากมองวิถีชีวิตของชาวบ้านท่าสว่าง จะเห็นได้ชัดว่าชาวบ้านยังคงนิยมใช้ผ้าไหมในชีวิตประจำวัน ซึ่งผ้าไหมเมืองสุรินทร์โดดเด่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเขมร ลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้น ล้วนมีความหมายอันเป็นมงคลทั้งสิ้น
แม้จุดเด่นของผ้าไหมเมืองสุรินทร์จะน่าสนใจ แต่ผ้าไหมของหมู่บ้านท่าสว่าง กลับประสบกับปัญหาด้านการตลาด โดยเฉพาะเงินทุนที่จะนำเข้ามาหมุนเวียน "วัน" ปิยะวรรณ ตระกูลเงินไทย หัวหน้ากลุ่มอาชีพสตรีผ้าทอบ้านท่าสว่าง กล่าวว่า ทุกวันนี้ผ้าไหมกลุ่มสตรีของผ้าทอบ้านท่าสว่าง ต้องใช้สีเคมีมาย้อมเส้นไหม เนื่องจากสีธรรมชาติหายากและมีราคาแพง แต่การย้อมเส้นไหมด้วยสีเคมี จะย้อมอย่างดี ไม่ทำให้สีตก ลูกค้าจึงชื่นชอบกันมาก
"ผ้าไหมของเราเรียกว่าใช้สีเคมีประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่เรามีปัญหาในเรื่องของเส้นไหมที่จะนำมาทอ เพราะไหมที่เราเลี้ยงเอาไว้ เราเลี้ยงได้ไม่มากนัก บางครั้งไหมก็ตาย อาจจะเป็นเพราะสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเลี้ยงไหม ทำให้เราต้องสั่งเส้นไหมมาจากตัวเมือง เมื่อก่อนเราจะส่งผ้าไหมไปขายในตัวเมืองด้วย แต่โดนกดราคามาก ตอนนี้ชาวบ้านที่อยู่ในกลุ่มเลยทอผ้าแล้วมาเช่าพื้นที่ในหมู่บ้านขายเอง ซึ่งรายได้จากการขายก็ซบเซาลงไปมากพอสมควร อาจจะเป็นเพราะเศรษฐกิจตอนนี้ แล้วหมู่บ้านของเราหายาก ส่วนตัวแล้วอยากจะให้รัฐเข้ามาช่วยในเรื่องของการประชาสัมพันธ์หมู่บ้านของเราให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย" หัวหน้ากลุ่มอาชีพสตรีผ้าทอบ้านท่าสว่าง
กาละแมสดศีขรภูมิ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ศีขรภูมิ เป็นอำเภอหนึ่งที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสุรินทร์ เป็นที่ตั้งของโบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ หรือปราสาทระแงง จึงมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาชมที่อำเภอศีขรภูมิแห่งนี้อย่างไม่ขาดสาย นอกจากปราสาทศีขรภูมิที่มีชื่อเสียงแล้วนั้น ของฝากของที่อำเภอนี้ก็มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน เป็นของฝากที่ใครไปใครมาไม่ควรพลาดนนั่นก็คือ “กาละแมสดศีขรภูมิ” จุดเด่นของกาละแมสดศีขรภูมิที่แตกต่างจากกาละแมอื่น ๆ คือความสดทำใหม่กันทุกวันไม่ใส่วัตถุกันเสีย กาละแมมีกลิ่นหอมใบไม้(น่าจะเป็นใบตอง) รสชาติหวานมัน ไม่หวานจัด เนื้อกาละแมเนียน นุ่มรับประทานง่าย
วิธีทำกาละแม (ขอบคุณข้อมูลจาก Thaitambon.com) เริ่มจากกวนมะพร้าวให้สุกผสมกับน้ำตาล ต่อมานำไปกวนในกระทะเหล็กใช้ไฟอ่อน ๆ นำกาละแมมาเทใส่กระจาดปูพื้นด้วยพลาสติก และนำไปบรรจุหีบห่อ (ภายนอกห่อด้วยกระดาษว่าวสีสดใส)
สำหรับร้านกาละแมสดที่ทีมงานเราแวะไปซื้อของฝากคือ ร้านกาละแม ตราแม่สองบาล (นิยมเรียกกันว่าตราช้าง เพราะว่าสัญลักษณ์เป็นรู้ช้างสองตัวแม่ลูก) จากการสอบถามพี่เจ้าของร้านที่ใจดีอนุญาตให้เราเข้าไปถ่ายรูปได้ว่าที่ร้าน จำหน่ายกาละแมสดอยู่ฝั่งตรงข้ามปราสาทศีขรภูมิ มาหลายสิบปีแล้วตั้งแต่รุ่นก่อนจนมาถึงรุ่นปัจจุบัน (สังเกตหาร้านได้จากป้ายรูปช้าง) รสชาติของกาละแมที่นี่ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง กาละแมสีดำสนิท เนื้อนุ่ม กลิ่นหอม รสหวานมัน ไม่หวานมากนัก ทำกันใหม่ ๆ สด ๆ ให้เห็น แต่ข้อเสียของกาละแมสด คือกินแล้วอยากกินเรื่อย ๆ (อันตรายสำหรับคนกลัวอ้วน และคนที่มีน้ำหนักมากอยู่แล้ว โปรดระมัดระวัง) หากแวะมาเยี่ยมเยียนที่ปราสาทศีขรภูมิแล้วอย่าลืมแวะซื้อกาละแมสดเป็นของฝากกลับบ้านนะคะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)