เมื่อสมัยผมทำงานอยู่ที่จ.ชัยภูมิเกี่ยวกับการสำรวจผังเมืองและได้มีโอกาสไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติป่าหินงามและประทับใจกับรอยต่อระหว่างสองแผ่นดินคือ อีสานกับกลางหรือจุดสิ้นสดแผ่นดินอิสาน-กลาง
<< ทุ่งดอกกระเจียว >>
"ทุ่งดอกกระเจียว" เกิดจากดอกกระเจียวป่า หลากหลายสายพันธุ์ ที่พร้อมใจกันขึ้นรายรอบบริเวณ ของอุทยานฯและจะมีอยู่บริเวณหนึ่งใช้พื้นที่หลายไร่ ที่จะมีดอกกระเจียวขึ้นอย่างหนาแน่นจนกลายเป็นทุ่ง ซึ่ง เวลามองดูก็จะเห็นเป็นสีชมพูปนขาว และมีสีเขียวของลำต้ันและก้านใบเป็นสีเขียวสด ประกอบกับสีเขียว ของหญ้าทีขึ้นมาแซม ทำให้ทุ่งกระเจียว เขียวขจี สวยงามเหมือนกับทุ่งในทรวงสวรรค์เลย โดยในช่วงฤดูฝน เริ่มต้นเดือนมิถุนายน ถึง ปลายเดือนกรกฎาคม ของทุก ๆ ปี ต้นกระเจียวจะออก ดอกสวยงามตระการตาไปทั่วผืนป่า จัดได้ว่าเป็น "นางเอกของอุทยานฯ" ก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะดอกกระเจียว จะไม่มีให้เห็นเลยนอกเสียจากในช่วงเวลาที่ว่า
<< จุดชมวิวสุดแผ่นดิน >>
"สุดแผ่นดิน" อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยานฯ เป็นแนวหน้าผาและชะง่อนหิน เป็นจุดสูงสุดบนเทือกเขา พังเหย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 846 เมตร เกิดจากการดันตัวของแผ่นดินภาคกลาง (ฉานไทย) ซุกเข้าไปใต้แผ่นดิน อีสาน (อินโต - ไซน่า) ทำให้เกิดแผ่นดินที่ยกตัวสูงชัน เรียกว่า "สุดแผ่นดิน" คือเขตรอยต่อของ 3 ภาคอันได้แก่
1. แผ่นดินซีกทางอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ชัยภูมิ (ภาคอีสาน)
2. แผ่นดินซีกทางตะวันตกของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ลพบุรี (ภาคกลาง)
3. แผ่นดินซีกทางเหนือของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.เพชรบูรณ์ (ภาคเหนือ)ซึ่งมีความสวยงาม อากาศเย็นสบาย และในตอนเช้า ๆ จะมีกลุ่มหมอกลอยผ่านหน้าเราไป เหมือนกับหยอกเย้ากับผู้มาเยือนเลย
<< ป่าหินงาม >>
"ป่าหินงาม" หรือ (ลานหินงาม) อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ทำการอุทยานฯ ทั่วบริวเวณเรียงรายไปด้วยหินก้อนน้อย ใหญ่ รูปร่างแปลก ๆ มากมายในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เป็นลานหินซึ่งเกิดจากการกัดเซาะดิน และเนื้อหินทรายมานานนับลานปี วาง เรียงรายสลับซับซ้อน อยู่เต็มลานบ้างก็มีรูปรา่างเหมือนกับถ้วยฟุตบอลโลก บ้างก็เหมือนกบเรด้า และรูปต่าง ๆ แล้วแต่จะ จินตนาการ แต่เมื่อดูแล้วชวนให้เกิดความเพลิดเพลินใจเป็นยิ่งนัก...
วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553
โบราณสถาน
ปราสาทอำเภอจอมพระ
จากการศึกษาทางโบราณคดีในเขตจังหวัดสุรินทร์ พบหลักฐานการอยู่ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะตอนปลาย ซึ่งมีการใช้เครื่องมือเหล็กแล้ว มีอายุราว 2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะทางตอนเหนือของจังหวัดแถบอำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี โดยอาศัยกลุ่มทุ่งกุลาร้องไห้ และแหล่งโบราณคดีในลุ่มแม่น้ำชี โดยเฉพาะหลักฐาน ที่แสดงถึงประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 คือการนำกระดูกของผู้ตายมาใส่ภาชนะดินเผาแล้วนำไปฝังอีกครั้ง สันนิษฐานว่าประเพณีความเชื่อนี้เกิดจากการฝังศพ แบบนอนหงายเหยียดยาวก่อนแล้วจึงพัฒนาเป็นนำกระดูกใส่ภาชนะต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงมีพิธีการเผาศพขึ้น กลุ่มชนในสมัยนี้มีเทคโนโลยีค่อนข้างสูงการใช้เครื่องมือเหล็ก ทำให้การใช้ประโยชน์จากพื้นที่อยู่อาศัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การขุดคูน้ำคันดินจัดระบบชลประทาน ซึ่งยังปรากฏให้เห็นในชุมชนโบราณกว่า 59 แห่ง โดยชุมชนมักจะตั้งอยู่บนเนินดินขนาดใหญ่ ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ชุมชนโบราณบ้านสลักได อำเภอเมือง ชุมชนโบราณบ้านพระปืด กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ ชุมชนโบราณบ้านปราสาททนง อำเภอปราสาท แหล่งโบราณคดีบ้านโนนสวรรค์ อำเภอชุมพลบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ บางแห่งยังปรากฎร่องรอยการเข้ามาอยู่อาศัยของชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลาต่อมาด้วย
ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้รับการติดต่อกับผู้คนในที่ต่าง ๆ และเมื่อรับวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาผสมผสานเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หรือราว 2,000 ปีมาแล้ว ก่อให้เกิดวัฒนธรรมในยุคประวัติศาสตร์ตอนต้อน บริเวณภาคกลางของประเทศไทย คือ วัฒนธรรมทวารดีที่นับถือศาสนาพุทธขึ้น และในระยะมาแพร่กระจายเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 พร้อม ๆ กับวัฒนธรรมขอมโบราณแห่งรัฐเจนละ ชุมชนวัฒนธรรมทวารวดีในจังหวัดสุรินทร์พบน้อยมากเนื่องจากบริเวณนี้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลวัฒนธรรมขอมอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่า เท่าที่มีหลักฐานปรากฏ ได้แก่ ชุมชนโบราณบ้านตรึม อำเภอศรีขรภูมิ โนนสิมมาใหญ่ โนนสิมมาน้อย และบ้านไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี โดยพบใบเสมาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าใบเสมานี้ใช้ปักเพื่อแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ในทางศาสนา หรือสร้างขึ้นเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ควรเคารพ และถวายเป็นศาสนบูชา
ในขณะเดียวกัน จากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกับพื้นที่ที่เคยเป็นอาณาจักรขอมโบราณ ทำให้ชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ได้รับวัฒนธรรมขอมมาโดยตลอดตั้งแต่ในช่วงพุทธศตวรรษที่12 เป็นต้นมา โดยในช่วงแรก ได้พบหลักฐานเป็นแบบพนมดา (ราว พ.ศ.1100- 1150) ที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก และจารึกวัดจุมพล พบที่วัดจุมพลสุทธาวาส อำเภอเมืองสุรินทร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ราวพุทธศตวรรษที่ 13- 14 อาณาจักรขอม แยกเป็น 2 ส่วน คือ เจนละบก และเจนละน้ำ สำหรับเขตจังหวัดสุรินทร์ ดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเจนละบก ปรากฎชุมชนวัฒนธรรมขอมที่เก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จัดเป็นชุมชนระดับเมืองที่มีศาสนาสถานสำคัญ คือ ปราสาทภูมิโปน เป็นศูนย์กลาง ปราสาทดังกล่าวร่วมสมัยกับศิลปะขอมแบบไพรกเม็ง (ราว พ.ศ.1180 -1250)
อาณาจักรขอมรวมกันอีกครั้งในราวพุทธศตวรรษที่ 15 โดยมีศูนย์กลางที่เมืองพระนครหลักฐานวัฒนธรรมขอมในช่วงเวลานี้ ได้แก่ ปราสาทหมื่นชัย และปราสาทบ้านจารย์ อำเภอสังขะ ซึ่งร่วมสมัยกับศิลปะขอมแบบเกาะแกร์ (ราว พ.ศ.1465 - 1490) และพบจารึกในรัชกาลพระเจ้าราเชนทรวรมัน (ราว พ.ศ. 1487 - 1511) 1 หลัก ภายในบริเวณตัวเมืองสุรินทร์ หลักฐานการเป็นชุมชนในวัฒนธรรมขอมเพิ่มเติมจำนวนมากขึ้น ในราวกลางเช่น ปราสาทบ้านพลวง ปราสาทนางบัวตูม ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทศรีขรภูมิ และน่าจะรวมถึงเมืองสุรินทร์โบราณชั้นนอกด้วย ในต้นพุทธศตวรรษที่ 18 กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอมคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลักธิมหายาน มีหลักฐานที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกว่า พระองค์โปรดให้สร้างที่พักคนเดินทาง(จารึกปราสาทพระขรรค์) และสร้างงอโรคยศาล หรือสถานพยาบาลขึ้นในชุมชนต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก (จารึกปราสาทตาพรหม) ในจังหวัดสุรินทร์ได้พบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ดังกล่าวหลายแห่ง เช่น ปราสาทจอมพระ ปราสาทช่างปี และปราสาทตาเมืองโต๊จเป็นต้น
หลักจากที่อาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงไม่ปรากฏหลักฐานเด่นชัดที่แสดงถึงการ อยู่อาศัยของชุมชนในสมัยต่อมา จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงปรากฏร่องรอยขึ้นอีกครั้งหนึ่งในพงศาวดารอีสาร ซึ่งกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2303 หัวหน้าชาวกูยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ได้ช่วยขุนนางจากราชสำนักคลองช้างเผือกแตกโรง มาจากกรุงศรีอยุธยากลับไปได้ ต่อมาภายหลังยังได้ส่งส่วยของป่าและรับราชการกับราชสำนัก จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระ และยกบ้านที่ปกครองขึ้นเป็นเมือง คือ เมืองขุขันธ์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองสุรินทร์ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง
ในสมัยการปาครองแบบเทศาภิบาล เมืองสุรินทร์อยู่ในเขตการปกครองของหัวเมืองลาวตะวันออกต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลลาวกาวและมณฑลอีสานตามลำดับ มีการส่งข้าหลวง มากำกับราชการจากส่วนกลาง เปลี่ยนตำแหน่งเจ้าเมืองมาเป็นผู้ว่าราชการเมือง จน พ.ศ. 2451 หลวงประเสริฐสุรินทบาล (เจ้าเมืองคนที่ 10 ) ถึงแก่อนิจกรรมเป็นสิ้นสุดการปกครองเมืองสุรินทร์ของเชื้อสายพระยาสุรินทร์ (ปุม) โดยส่วนกลางส่งข้าหลวงมาปกครองแทน และเมืองเปลี่ยนจากเมืองมาเป็นจังหวัด ได้ยุบเมืองต่าง ๆ ที่อยู่เขตจังหวัดสุรินทร์เป็นอำเภอดังเช่นปัจจุบัน
สินค้าชุมชน
การทำเครื่องเงินเขวาสินรินทร์
ลวดลายเครื่องเงินโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของลุงป่วน มีทั้งหมด 13 ลาย คือ กจร ไข่แมงดา มะลิ ดอกปลึด 3 ชั้น ตังโอ ระเวยิ่ง รำหอก ทานตะวัน รวงผึ้ง รำหอกโปรง เอกปลึด รังแตน และตังโอ 3 ชั้น ซึ่งลายที่ทำยากที่สุด คือ ลายรำหอก เนื่องจากเป็นลายที่มีความสลับซับซ้อนในการทำและมีราคาแพงมาก "ลุงเคยทำทั้ง 13 ลายนี้ถวายให้กาญจนาภิเษก วิทยาลัยช่างทองหลวง เมื่อปี 2544 เนื่องในโอกาสที่ลูกศิษย์ของเขามาเรียนกับลุง เพื่อเอาไว้ให้ลูกศิษย์ได้ศึกษา แล้วเขาก็อนุญาตให้ลุงทำลายทั้ง 13 ลายนี้เอาไว้ 1 ชุด แต่ห้ามขาย น้ำหนักแต่ละดอกประมาณ 200 กรัม นอกเหนือจาก 13 ลายนี้แล้ว ลุงจะคิดและออกแบบเองทั้งหมด แต่จะไม่มีการเขียนแบบเก็บเอาไว้ ถ้าขายแล้วก็จะไม่ทำอีก เพราะทำยาก หมู่บ้านนี้เขาจะสอนทำกันแต่ประเกือม (ประคำ) ไม่ค่อยมีคนทำเครื่องเงินลายโบราณแบบลุงหรอก เครื่องเงินลายโบราณเหล่านี้อาจจะหายไปในอนาคตก็ได้" ลุงป่วน กล่าวย้ำ เห็นได้ชัดว่าศิลปะของไทยโบราณ กำลังจะหดหายไปทุกที กระบอกเสียงของชาวบ้านกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้ คงจะดังไม่พอ หากคนไทยด้วยกันไม่ยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือ อีกหน่อยศิลปะเหล่านี้คงไม่มีให้เราเห็นอีกต่อไป
การทอผ้าไหมบ้านท่าสวาง
การทอผ้าของชาวบ้าน ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานจากการทำเกษตรกรรมได้ เราจึงไม่ได้มุ่งเน้นไปที่งานอุตสาหกรรมสักเท่าไร งานของเราจะเน้นการใช้ฝีมือ จึงผลิตออกมาน้อยและมีจำนวนจำกัด แล้วสีที่นำมาย้อมผ้าเราจะเน้นสีย้อมที่เป็นธรรมชาติ กี่ทอผ้าแบบดั้งเดิม เพื่อเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน" อ.วีรธรรม กล่าว
หากมองวิถีชีวิตของชาวบ้านท่าสว่าง จะเห็นได้ชัดว่าชาวบ้านยังคงนิยมใช้ผ้าไหมในชีวิตประจำวัน ซึ่งผ้าไหมเมืองสุรินทร์โดดเด่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเขมร ลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้น ล้วนมีความหมายอันเป็นมงคลทั้งสิ้น
แม้จุดเด่นของผ้าไหมเมืองสุรินทร์จะน่าสนใจ แต่ผ้าไหมของหมู่บ้านท่าสว่าง กลับประสบกับปัญหาด้านการตลาด โดยเฉพาะเงินทุนที่จะนำเข้ามาหมุนเวียน "วัน" ปิยะวรรณ ตระกูลเงินไทย หัวหน้ากลุ่มอาชีพสตรีผ้าทอบ้านท่าสว่าง กล่าวว่า ทุกวันนี้ผ้าไหมกลุ่มสตรีของผ้าทอบ้านท่าสว่าง ต้องใช้สีเคมีมาย้อมเส้นไหม เนื่องจากสีธรรมชาติหายากและมีราคาแพง แต่การย้อมเส้นไหมด้วยสีเคมี จะย้อมอย่างดี ไม่ทำให้สีตก ลูกค้าจึงชื่นชอบกันมาก
"ผ้าไหมของเราเรียกว่าใช้สีเคมีประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่เรามีปัญหาในเรื่องของเส้นไหมที่จะนำมาทอ เพราะไหมที่เราเลี้ยงเอาไว้ เราเลี้ยงได้ไม่มากนัก บางครั้งไหมก็ตาย อาจจะเป็นเพราะสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเลี้ยงไหม ทำให้เราต้องสั่งเส้นไหมมาจากตัวเมือง เมื่อก่อนเราจะส่งผ้าไหมไปขายในตัวเมืองด้วย แต่โดนกดราคามาก ตอนนี้ชาวบ้านที่อยู่ในกลุ่มเลยทอผ้าแล้วมาเช่าพื้นที่ในหมู่บ้านขายเอง ซึ่งรายได้จากการขายก็ซบเซาลงไปมากพอสมควร อาจจะเป็นเพราะเศรษฐกิจตอนนี้ แล้วหมู่บ้านของเราหายาก ส่วนตัวแล้วอยากจะให้รัฐเข้ามาช่วยในเรื่องของการประชาสัมพันธ์หมู่บ้านของเราให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย" หัวหน้ากลุ่มอาชีพสตรีผ้าทอบ้านท่าสว่าง
กาละแมสดศีขรภูมิ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ศีขรภูมิ เป็นอำเภอหนึ่งที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสุรินทร์ เป็นที่ตั้งของโบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ หรือปราสาทระแงง จึงมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาชมที่อำเภอศีขรภูมิแห่งนี้อย่างไม่ขาดสาย นอกจากปราสาทศีขรภูมิที่มีชื่อเสียงแล้วนั้น ของฝากของที่อำเภอนี้ก็มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน เป็นของฝากที่ใครไปใครมาไม่ควรพลาดนนั่นก็คือ “กาละแมสดศีขรภูมิ” จุดเด่นของกาละแมสดศีขรภูมิที่แตกต่างจากกาละแมอื่น ๆ คือความสดทำใหม่กันทุกวันไม่ใส่วัตถุกันเสีย กาละแมมีกลิ่นหอมใบไม้(น่าจะเป็นใบตอง) รสชาติหวานมัน ไม่หวานจัด เนื้อกาละแมเนียน นุ่มรับประทานง่าย
วิธีทำกาละแม (ขอบคุณข้อมูลจาก Thaitambon.com) เริ่มจากกวนมะพร้าวให้สุกผสมกับน้ำตาล ต่อมานำไปกวนในกระทะเหล็กใช้ไฟอ่อน ๆ นำกาละแมมาเทใส่กระจาดปูพื้นด้วยพลาสติก และนำไปบรรจุหีบห่อ (ภายนอกห่อด้วยกระดาษว่าวสีสดใส)
สำหรับร้านกาละแมสดที่ทีมงานเราแวะไปซื้อของฝากคือ ร้านกาละแม ตราแม่สองบาล (นิยมเรียกกันว่าตราช้าง เพราะว่าสัญลักษณ์เป็นรู้ช้างสองตัวแม่ลูก) จากการสอบถามพี่เจ้าของร้านที่ใจดีอนุญาตให้เราเข้าไปถ่ายรูปได้ว่าที่ร้าน จำหน่ายกาละแมสดอยู่ฝั่งตรงข้ามปราสาทศีขรภูมิ มาหลายสิบปีแล้วตั้งแต่รุ่นก่อนจนมาถึงรุ่นปัจจุบัน (สังเกตหาร้านได้จากป้ายรูปช้าง) รสชาติของกาละแมที่นี่ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง กาละแมสีดำสนิท เนื้อนุ่ม กลิ่นหอม รสหวานมัน ไม่หวานมากนัก ทำกันใหม่ ๆ สด ๆ ให้เห็น แต่ข้อเสียของกาละแมสด คือกินแล้วอยากกินเรื่อย ๆ (อันตรายสำหรับคนกลัวอ้วน และคนที่มีน้ำหนักมากอยู่แล้ว โปรดระมัดระวัง) หากแวะมาเยี่ยมเยียนที่ปราสาทศีขรภูมิแล้วอย่าลืมแวะซื้อกาละแมสดเป็นของฝากกลับบ้านนะคะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)